วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

หาดบางแสน จังหวัดชลบุรี

 
                                                            หาดบางแสน จังหวัดชลบุรี
 
ประวัติความเป็นมา
เทศบาลเมืองแสนสุข
เทศบาลเมืองแสนสุข เป็นองค์การปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งได้รับการยกฐานะจากสุขาภิบาลแสนสุข เป็นเทศบาลตำบลแสนสุข ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2531 ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล คือ ตำบลแสนสุขทั้งตำบล บางส่วนของตำบลเหมือง และบางส่วนของตำบลห้วยกะปิ อยู่ภายใต้การบริหารงาน ของประชาชนในท้องถิ่น โดยมีนายสมชาย คุณปลื้ม เป็นนายกเทศมนตรี นายสวัสดิ์ หอมปลื้ม และนายสมชาติ คุณปลื้ม เป็นเทศมนตรี มีสมาชิกสภาเทศบาล อีกจำนวน 12 คน เข้ามาร่วมคิดร่วมทำ กำหนดนโยบายและบริหารงานต่าง ๆ ในรูปแบบเทศบาล ทำให้ท้องถิ่น ได้รับการพัฒนาเจริญก้าวหน้า ภายใน ระยะเวลา 13 ปี จึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลตำบลแสนสุข เป็นเทศบาลเมืองแสนสุข เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2544 เทศบาลเมืองแสนสุข มีหน้าที่รับผิดชอบต่อประชาชนในท้องถิ่น และแหล่งท่องเที่ยวที่เก่าแก่ และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทยคือ ชายหาดบางแสน เนื่องจากเป็นที่ท่องเที่ยว ของประชาชนทุกระดับ มีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 89 กิโลเมตรจึงเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวไม่ว่าจะ เป็น ชาวไทยหรือต่างประเทศ มาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 50 ปี เทศบาลเมืองแสนสุข ในอดีตก่อนจะจัดตั้งเป็นเทศบาลการบริหารงานถูกดำเนินการโดยคณะกรรมการ
  สุขาภิบาลแสนสุข พื้นที่ชายหาดบางแสนและเขาสามมุข สมัยนั้นนิยมท่องเที่ยวชมเขา แต่เนื่องจากขาดงบประมาณ บุคลากร เครื่องมือเครื่องใช้ และการจัดการ ที่ดี อำนาจในการบริหารขึ้นอยู่กับการปกครองส่วนภูมิภาค ทำให้การบริหารงานไม่เป็นไปด้วยดีเท่าที่ควร เมื่อสุขาภิบาล ได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาล ศักยภาพในการบริหารงานมีมากขึ้น การพัฒนาในทุก ๆ ด้าน เป็นไปอย่างรวดเร็วพลิกฟื้นจากแหล่งเสื่อมโทรม กลายเป็นแหล่งชุมชน ที่มีศักยภาพในด้าน การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของท้องถิ่นมีรายได้หมุนเวียน โดยเฉพาะวันหยุดราชการนับล้าน ๆ บาทต่อวัน ภูมิประเทศเป็นพื้นที่ที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง เฉลี่ย 3 เมตร ภูมิอากาศจัดอยู่ในประภทฝนเมืองร้อน หรือแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน ด้านตะวันออกของเทศบาลเป็นที่ราบเชิงเขาลาดแนวชายฝั่งทะเล จึงเป็นหาดทรายยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ความสูงของพื้นที่วัดจากน้ำทะเลประมาณ 3 เมตร สภาพสังคมและเศรษฐกิจ เนื่องจากเทศบาลมีศักยภาพ เป็นชุมชนทางการศึกษา การท่องเที่ยว และที่พักอาศัยประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายเศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นอยู่ กับการพาณิชยกรรม กิจกรรม การค้าตั้งอยู่หนาแน่นบริเวณตลาดหนองมนและชายหาดบางแสนซึ่งเป็นผลมาจากการท่องเที่ยว
นอกจากนี้ยังมีอาชีพประมง ทำสวนมะพร้าว ฟาร์มกุ้ง แปรรูปผลิตผลทางทะเล และรับจ้างรวมถึงกิจการ ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริการด้านการท่องเที่ยว ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยบูรพา และสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ทำให้สภาพเศรษฐกิจเติบโตรวด
ตราเทศบาลเมืองแสนสุข


  เป็นตรารูปพวงมาลัยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซ็นติเมตร ตรงกลางมีรูปทรง กลมประกอบด้วยเรือใบหาปลาสมัยดั่งเดิมกำลังแล่นในทะเล โดยมีรูปเขาสาม มุขและภาพนกประกอบด้านหลัง ด้านบนของรูปมีข้อความ " เทศบาลเมืองแสนสุข " ด้านล่างมีข้อความ " จังหวัดชลบุรี " การที่กำหนดรูปลักษณะดวงตราประจำเทศบาล เมืองแสนสุขเช่นนี้เนื่องจากเขาสามมุขเป็นภูเขาที่มีชื่อเสียงในพื้นที่ได้ รับการนับ ถือต่อเนื่องมาเป็นเวลาช้านานจากประชาชนในท้องถิ่นและประชาชนทั่วไป ส่วน พวงมาลัยเรือและรูปเรือใบแสดงลักษณะเด่นของเมืองทะเลซึ่งในอดีต ประชาชน มีอาชีพด้านการประมงเป็นหลักตราบจนในปัจจุบันนอกจากนี้ชายทะเลแสนสุข หรือหาดบางแสนยังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเพื่อมาพักผ่อนตากอากาศ จนกระทั่งมีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ .....
คำขวัญเมืองแสนสุข
"บางแสนแสนสุข สามมุขลือนาม ข้าวหลามหนองมน ประชาชนสามัคคี ประเพณีวันไหล"
ประวัติ และพัฒนาการของชุมชนตั้งเดิมในท้องถิ่น
เทศบาลเมืองแสนสุขได้รับการยอมรับจาก สุขาภิบาลแสนสุข ขึ้นเป็นเทศบาลตำบลแสนสุข เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2531 พร้อมกันนี้ได้ขยาย พื้นที่ความรับผิดชอบจาก 12.5 ตารางกิโลเมตร (15 หมู่บ้าน) เป็น 20.268 ตารางกิโลเมตร (20 หมู่บ้าน) ด้วยศักยภาพของท้องถิ่น และ ผู้บริหารท้องถิ่น ในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ สร้างความเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว และในปีพ.ศ. 2536 เทศบาลฯ จึงได้รับการยกฐานะ เป็นเมืองลักษณะพิเศษ (เมืองท่องเที่ยว) ทำให้เทศบาลฯ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยราชการต่างๆ เช่นการท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย, กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี, องค์การบริหารส่วนจังหวัด, กรมการปกครอง ฯลฯ ซึ่งเทศบาลฯ ได้นำงบสนับสนุนเหล่านั้นมาใช้ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จวบจนปัจุบัน เทศบาลฯได้รับการยกระดับขึ้นเป็นเทศบาลเมืองแสนสุข เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2544 และยึดหลัก การบริหารที่เด่นชัด คือ "เทศบาล เมืองแสนสุข ต้องเป็นเมืองที่น่าอยู่ ควบคู่กับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน มีแหล่งท่องเที่ยวที่สะอาดสวยงาม เป็นที่รู้จักระดับสากล พัฒนาเศรษฐกิจสังคมให้เจริญรุ่งเรือง เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีตลอดไป"
พัฒนาการของชุมชนในท้องถิ่น
ก่อนปี พ.ศ.2486 ชุมชนต่างๆ ในเทศบาลเมืองแสนสุข ยังไม่เป็นที่รู้จักของคนภายนอก ยกเว้นชุมชนเขาสามมุข ซึ่งเป็นชุมชนเล็กๆ ในรัชสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีบ้านเรือนเพียง 3-4 หลัง เป็นชุมชนที่ประกอบอาชีพทางการประมง เขาสามมุขในสมัยนั้น มีลักษณะคล้ายเกาะริมฝั่งทะเล ตอนกลางเขา เป็นป่าดงดิบ เชิงเขาเป็นป่าแสม ป่าโกงกาง ชายฝั่งทะเลมีลิง และงูชุกชุมมาก ตรงหัวเขาด้านตะวันตก มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านใกล้เคียงนับถือคือ "เจ้าแม่สามมุข" ชุมชนเขาสามมุขหนาแน่น และเจริญขึ้นเมื่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม มาสร้างบ้านพักตากอากาศขึ้นทางด้านตะวันตกของเขา ประมาณปี พ.ศ.2486-2488 นอกจากนั้นยังสร้างบ้านรับรองของรัฐบาล เพื่อใช้รับรองบุคคลสำคัญ และอาคันตุกะจากต่างประเทศ ตลอดจนที่ประชุมคณะรัฐมนตรี รวมทั้งสร้างบ้านพักสำหรับข้าราชการอีก 13 หลัง และตัดถนนเชื่อม จากบางแสนไปเขาสามมุขโดยรอบ และได้เวนคืนที่ดินส่วนหนึ่งจากชาวบ้าน รวมพื้นที่จับจอง และเวนคืนทั้งสิ้น 113 ไร่ หลังสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2501) เขาสามมุขไม่คึกคักดังแต่ก่อน ปีพ.ศ.2503 จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ได้สร้างบ้านรับรองของรัฐบาลขึ้นใหม่ที่แหลมแท่น (ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเขาสามมุข) บุคคลสำคัญของรัฐบาล ก็ย้ายไปประชุม และพักแรมกันที่บ้านรับรองแหลมแท่น บ้านรับรองของรัฐบาลที่เขาสามมุขก็ถูกละเลย และทรุดโทรมลงตามลำดับ ในปีพ.ศ.2536 เทศบาลฯได้จัดทำโครงการนำร่องในการพัฒนาเขาสามมุข ให้เป็นจุดท่องเที่ยวที่สำคัญ และได้พัฒนาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และจะยังคงดำเนินต่อไปในอนาคต โดยเริ่มต้นพัฒนาพื้นที่ด้านตะวันออกของเขาสามมุขช่วงต่อจากศาลเจ้าแม่สาม มุขจีนไปทางใต้ แล้วพัฒนาเชื่อมต่อรอบเขาสามมุขไปยังแหลมแท่น รวมถึงชายทะเลบางแสนตลอดแนว และถนนทางไปอ่างศิลา พร้อมทั้งทำการปรับปรุงพื้นที่ริมทะเลแหลมแท่น ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ทั้งบริเวณแหลมแท่น และเขาสามมุข รวมถึงชายหาดบางแสนเพื่อให้ มีทั้งสถานที่พักผ่อน, ชมทัศนียภาพ, เพื่อนันทนาการ รวมทั้งมีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาธรรมชาติ, สวนสุขภาพ และสถานที่จำหน่ายของที่ระลึก และอาหาร ด้วย
ชุมชนแหลมแท่น
อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขาสามมุข แต่เดิมเรียกว่าสามมุข ชื่อแหลมแท่น เป็นชื่อได้มาจากเจ้าดารารัศมี เจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จประทับรักษาพระองค์ อยู่ที่ค่ายหลวงอ่างศิลา ซึ่งทรงเห็นว่าบริเวณหัวแหลม และริมทะเลส่วนนี้ ยังมีหินใหญ่ตั้งอยู่ชายฝั่งทั้งสองด้าน ชุมชนแหลมแท่นเป็นชุมชน ประมงเล็กๆ ช่วงปีพ.ศ.2449-2453 มีบ้านเรือนไม่ถึง 10 หลังคาเรือน เป็นพวกที่บ้านแตกหนีมาจากเวียดนาม พื้นที่แหลมแท่นสมัยนั้นมีสภาพเป็นป่า มีสัตว์ป่าเช่นช้าง ประชากรในชุมชนเป็นญาติพี่น้องกัน ผู้ชายทำอาชีพประมง ผู้หญิงทอผ้า ผ้าที่ทอมีทั้งทอเป็นผ้านุ่ง, ผ้าขาวม้า และผ้ายกดอก ทอใช้เองในครัวเรือน สมัยหลังๆ มีคนมารับไปขายกรุงเทพ ส่วนปลาที่หาได้ก็นำไปขายที่ตลาดหนองมน แล้วซื้อข้าวสาร และถ่านกลับมา การเดินทางใช้วิธีการเดินเท้า ส่วนของถ้ามาก ก็ใช้เกวียนบรรทุก ถ้าไม่มากก็หาบเดินไป นอกจากทำประมง และทอผ้า ยังมีการแกะหอยนางรมจากศิลาใต้น้ำ เวลาน้ำลงอีกด้วย ต่อมาได้พัฒนาไปทำฟาร์มเลี้ยงหอยนางรม และหอยแมลงภู่
ชุมชนบางแสน
อยู่ทางตอนใต้ของชุมชนแหลมแท่น เป็นหาดทรายที่มีความลาดชันน้อย ยาวจากแหลมแท่นไปจรดเขตบางพระ มีความยาวประมาณ 5 กม. เมื่อ 50-60 ปี ที่ผ่านมามีบ้านเรือนอยู่ไม่ถึง 20 หลังคาเรือน ประกอบอาชีพด้านการประมงเล็กๆ ใช้วิธี ตก และดัก ด้วยเครื่องมือง่ายๆ มีเรือขนาดเล็กจับปลาไกลสุดถึงเกาะสีชัง จับได้แต่พอบริโภคในครัวเรือน ที่เหลือก็นำไปขายที่ตลาดหนองมน ประมาณปีพ.ศ.2490 บางครอบครัวได้เปลี่ยนอาชีพ ไปทำเรือใบให้นักท่องเที่ยวเช่า แต่ประมง ก็เป็นอาชีพ ที่นิยมที่สุดของชุมชนบางแสนเรื่อยมาจนช่วงที่น้ำมันขึ้นราคา และปัญหาเศรษฐกิจทางทะเล บางครอบครัวได้เปลี่ยนไปทำอาชีพอื่น เช่นโรงแรม รวมทั้งบ้านจัดสรร จนถึงปัจจุบัน ชุมชนบางแสนได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว บริเวณชายหาดได้รับการพัฒนาอย่างมีระบบ มีการวางแผนที่ชัดเจน โดยเทศบาลเมืองแสนสุข ซึ่งถูกกำหนด ให้เป็นเมืองท่องเที่ยว ได้เข้าไปจัดระเบียบการใช้พื้นที่ การพัฒนาเริ่มแรก ทางเทศบาลฯได้ทำการย้ายชุมชนสลัมออกจากพื้นที่ชายหาด และได้จัดซื้อที่อู่อาศัย ให้แก่ชุมชนสลัมใหม่ หลังจากนั้นได้กำหนดพื้นที่ต่างๆ โดยแบ่งเป็น พื้นที่เพื่อการผักผ่อน, การเล่นน้ำทะเล, การเล่นกีฬาทางน้ำ, พื้นที่สำหรับจำหน่ายของที่ระลึก, พื้นที่สำหรับขายอาหาร, ทางเดินเท้า, ทางรถจักรยาน, ที่จอดรถ รวมทั้งการรักษาความสะอาด การพัฒนา และรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม การรักษาความปลอดภัย ฯลฯ มีการจัดกลุ่มผู้ประกอบการ เพื่อให้เป็นที่น่าดึงดูดใจแก่นักท่องเที่ยว จากนั้นได้ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ของชายหาดบางแสน โดยปลูกต้นมะพร้าวตลอดแนวชายหาดบางแสน จนเป็นเอกลักษณ์ ของชายหาดบางแสน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ สร้างรายได้ ให้แก่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองแสนสุขอย่างทั่วถึงอย่างเป็นระบบ เมื่อเทศบาลเมืองแสนสุข ได้เข้าไปจัดระเบียบการใช้พื้นที่เป็นสัดส่วน คือ มีการกำหนดพื้นที่เพื่อผักผ่อน เล่นน้ำ เล่นกีฬาทางน้ำ ขายของที่ระลึก ขายอาหาร ทางเดินเท้า ที่รถจักรยานที่จอดรถ รวมทั้งการรักษาความสะอาด การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม การรักษา ความปลอดภัย ฯลฯ มีการจัดกลุ่มผู้ประกอบการ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีความสำคัญ และ เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประชาชน ในเทศบาลเมืองแสนสุข
ชุมชนหาดวอนนภา
เป็นชุมชนประมง ชายทะเลแถบนี้เป็นป่าแสม เมื่อประมาณ 60-70 ปีที่ผ่านมา มีเพียง 4-5 หลังคาเรือน ชาวชุมชนเป็นคนไทย และคนไทยเชื้อสายจีน ดำเนินชีวิตด้วยการออกทะเลหาปลาด้วยเรือเล็ก ใช้เครื่องมือง่ายๆ บ้านเรือนมีลักษณะเป็นบ้านเล็ก หลังคามุงจาก ฝาขัดแตะ ใต้ถุนโปร่ง ต่อมามีรายได้จากการประมงมากขึ้น จึงมีเครื่องมือเครื่องใช้ในการประมงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีเรือยนต์ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ใช้ สามารถออกจับปลาได้ไกลๆ ได้ปลาคราวละมากๆ นำไปขายที่สะพานปลา ทั้งที่แหลมแท่น, สามมุข, อ่างศิลา และศรีราชา บ้านเรือน และชุมชนขยายใหญ่ขึ้น คนจากพื้นที่ตอนบนของหนองมนก็อพยพมาอยู่ ชาวกรุงเทพฯ นิยมมาซื้อที่ปลูกบ้านพักตากอากาศชายทะเลกันมากขึ้น ชุมชนหาดวอนนภาเอง ก็ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมานี้เอง นอกจากอาชีพประมงแล้ว ยังมีอาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เป็นผลผลิตที่เกิดจากการประมง เช่น ทำน้ำปลา, ผลิตอาหารแห้ง สร้างรายได้แก่ชุมชนเป็นอย่างดี
ชุมชนหนองมน
ในอดีตเป็นชุมชนเล็ก ที่มีทั้งคนไทย และคนจีน ปลูกบ้านชั้นเดียวใต้ถุนสูง เอาไว้เลี้ยงสัตว์ หลังคามุงจาก ต่อมาเปลี่ยนเป็นสังกะสี และกระเบื้อง ประกอบอาชีพค้าขายเล็กๆน้อยๆ รับสินค้าจากเมืองชลบุรีบ้าง กรุงเทพบ้าง สินค้าที่สั่งมาจากเรือขึ้นฝั่งที่สามมุขแล้วบรรทุกเกวียน หรือหาบต่อมายังหนองมนก็มี ชุมชนหนองมนเริ่มหนาแน่นขึ้น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปีพ.ศ.2487 เป็นต้นมา เริ่มมีคนจากถิ่นอื่นมาตั้งหลักปักฐาน ประกอบอาชีพรับจ้างบ้าง ค้าขายเล็กๆน้อยๆบ้าง การค้าที่ตลาดหนองมนเจริญขึ้นเมื่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม มาสร้างสถานที่ตากอากาศที่ชายหาดบางแสน และสร้างถนน ต่อลงไปยังชายหาดบางแสน และเขาสามมุข การเดินทางจึงสะดวกขึ้นมาก ชาวหนองมนก็เริ่มมีจักรยานใช้ผ่อนแรงในการเดินทางไปซื้อขายสินค้า พ.ศ.2490 เริ่มสร้างตลาดถาวรขึ้นแต่ ต่อมาตลาดหนองมนเจริญขึ้นตามการขยายตัวของ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ร้านค้าขยายตัวจากตอนในออกมาริมถนนสุขุมวิท ทั้ง 2 ฝั่งถนน สินค้ามีทั้งของฝากประเภทอาหารพื้นเมืองทั้งสด และแห้ง และสินค้าประเภทของที่ระลึก ที่ผลิตจากวัสดุ หรือฝีมือของคนในท้องถิ่น ที่ขึ้นชื่อคือ ข้าวหลาม และหอยจ้อ
ชุมชนเมือง
บริเวณที่ตั้งระยะแรกมีเนิน จากการสันนิษฐานอาจจะเป็นกำแพง หรือบริเวณวัด เพราะมีร่องรอยของการก่อสร้างด้วยอิฐโบราณอยู่ ชาวชุมชนจึงเรียกบริเวณที่ตั้ง ชุมชนว่า "เนินเมือง" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "เมือง" แต่ออกเสียงเป็น "เหมือง" ตามสำเนียงของคนในพื้นที่ เมื่อมีการสร้างถนนสุขุมวิทเชื่อมกรุงเทพฯ กับสัตหีบ ชุมชนเมืองก็ขยายตัวออกมาทางถนนสุขุมวิท ราวปีพ.ศ.2470 ซึ่งขณะนั้นเป็นถนนดิน มาราดยางประมาณ ปีพ.ศ.2490 ในอดีตชุมชนเหมือง มีอาชีพทำนาทำไร่ ปัจจุบันชาวเหมืองบางส่วน ได้ขายนาขายไร่ของตนไป เนื่องจากการทำนาทำไร่ได้ผลตอบแทนน้อย ทำให้ที่ดินราคาสูง บางส่วนก็หันมาประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงกุ้ง ทำผลิตภัณฑ์แปรรูปผลผลิตจากไร่ เพื่อนำไปจำหน่ายเป็นของระลึกบ้าง เช่น กล้วยกวน, มะม่วงกวน ฯลฯ

วัดหมอนนาง

เกาะช้าง


                                                                             เกาะช้าง




             เกาะช้าง ทรอปิคานา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา เป็นรีสอร์ทที่ตั้งอยู่บนหาดคลองพร้าว หาดที่ได้ชื่อว่าเป็นที่ที่อันสงบและสวยงามที่สุดหาดหนึ่งเลยก็ว่าได้บนเกาะช้าง จ.ตราด ด้วยการตกแต่งสไตล์ Tropical Beach Paradise ได้สรรสร้างบรรยากาศการพักผ่อนให้เป็นสวรรค์ริมหาด ที่จะทำให้ท่านเเละครอบครัวได้สัมผัสกับความสงบและผ่อนคลาย ด้วยบรรยากาศธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์บริเวณโดยรอบและชื่นชมทิวทัศน์ของทะเลอ่าวไทย ผ่านหาดทรายสีขาวละเอียดที่กว้างและยาวออกไปสุดสายตา   และนอกจากนี้ ทางรีสอร์ทก็ยังมีบริการที่เป็นกันเองและกิจกรรมต่างๆ บนพื้นที่อันกว้างใหญ่ที่เตรียมพร้อมให้คุณมาสัมผัสเสน่ห์ของที่พักอันหรูหราบน เกาะช้าง ที่ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพเพียงไม่เกิน 4 ชั่วโมงเท่านั้น
เกาะช้าง ทรอปิคาน่า รีสอร์ท แอนด์ สปา มีโซนห้องพักทั้งหมด 2 โซน มีห้องพักรวมทั้งหมดประมาณ 156 ห้อง ประกอบไปด้วยห้องพัก 5 แบบ คือ Superior Room  Superior Plus Room  Deluxe Room   Grand Deluxe Room  และ Suite Room  ซึ่งในแต่ละห้องพักนั้น มีสไตล์ การตกแต่งที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกันเกือบทุกห้องพักเลยคือการรักษาเอกลักษณ์ทางธรรมชาติของเกาะช้างไว้ เพื่อให้การพักผ่อนที่แสนวิเศษของท่านในวันหยุดสอดคล้องและกลมกลืนไปพร้อมกับธรรมชาติที่สวยงามรอบกาย
สิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการของ เกาะช้าง ทรอปิคานา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา มีอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็น
* ห้องอาหารซีฟู้ด และบาร์
* สระว่ายน้ำขนาดใหญ่ 2 สระ
* บาร์บริการที่สระว่ายน้ำ (Wet bar)
* สปาและนวดแผนไทย
* บริการจัดห้องประชุม
* บริการจัดงานเลี้ยงต่างๆในรีสอร์ท
* บาร์บริการเครื่องดื่มพร้อมนั่งชมพระอาทิตย์ตกดิน
* ระเบียงไม้รอบสระพร้อมเก้าอี้นั่งเล่นแบบ Beach chair
* บริการรถรับ-ส่ง
* เรือคายัค
* แผ่นปาเป้า
* ปิงปอง
* การรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง
* ศูนย์ธุรกิจและอินเตอร์เน็ต
* ที่จอดรถ
* ตู้นิรภัย
ซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการเหล่านี้ จะทำให้ท่านได้เกิดรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และความสนุกสนาน เมื่อท่านได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเรา เกาะช้าง ทรอปิคานา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา
หาดบางแสน อยู่ห่างจากตัวเมืองชลบุรี 14 กิโลเมตร แยกขวาจากถนนสุขุมวิท ตรงหลัก กม. 104 เข้าไป 3 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวไทยที่มีชื่อเสียงมาช้านาน มีถนนตัดเลียบชายหาด ซึ่งเรียงรายไปด้วยร้านอาหารและที่พัก มีเก้าอี้ผ้าใบสำหรับพักผ่อนรับประทานอาหารใต้ร่มเงาทิวมะพร้าว มีห่วงยางว่ายน้ำ บาบาน่าโบ๊ต จักรยานให้เช่า และห้องอาบน้ำจืด ทุกวันหยุดจะคึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวไทย เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯจึงสามารถมาเที่ยวแบบเช้าไป-เย็นกลับได้